ปั๊มลม (Air Compressor) คือ


ปั๊มลม คือ อะไร

ปั๊มลม หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Air Compressor ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมตั้งขนาดเล็กจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง มักนิยมใช้ในอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมจักรยานยนต์ หรือในอุตสาหกรรมทางด้านทางการแพทย์ และทันตกรรม ส่วนใหญ่นิยมใช้ปั๊มลมประเภทลูกสูบ ซึ่งมีการใช้ปริมาณลมน้อยเเละแรงดันลมไม่สูง ส่วนเครื่องปั้มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรู ที่ให้ปริมาณลมที่มากและยังสามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์
คุณทราบหรือไม่ว่า ปั๊มลม ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมบ้านเรามีทั้งหมดกี่ประเภท

ปั๊มลม มีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON AIR COMPRESSOR)
2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW AIR COMPRESSOR)
3. ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM AIR COMPRESSOR )
4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY AIR COMPRESSOR )
5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS AIR COMPRESSOR )
6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW AIR COMPRESSOR)

1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON AIR COMPRESSOR)

หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดเเละอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย โดยปั๊มลมชนิดนี้สามารถสร้างความดันหรือแรงดันลมได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar โดยแรงอัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ยิ่งขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างแรงอัดได้สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
ซึ่งทางเมคคานิก้าเราก็มีจำหน่ายปั๊มลมประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็น Gast , Medi Air, Jun Air เป็นต้น

2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW AIR COMPRESSOR )

ปั๊มลมประเภทสกรู เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะเครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor ประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวขบเข้าหากัน ซึ่งเรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย โดยให้เพลาสกรู 2 ตัวหมุนเข้าหากันทำให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา ทำให้แรงดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยเครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีเลยทีเดียว

3. ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM AIR COMPRESSOR )

ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานของคล้ายลูกสูบเเต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ามันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั้มลูกสูปขึ้นอยู่กับการออกเเบบขั้นในการอัดปั๊มลมชนิดนี้ ลมที่ได้ออกมาจะเป็นลมที่สะอาดไม่มีอะไรปนเปื้อน

4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY AIR COMPRESSOR )

ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน ปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์

5. ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS AIR COMPRESSOR )

ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน